หลักรัก ตอนที่ ๑๑ -ตอนสุดท้าย - พระอาจารย์ชยสาโร


ในภาคปฏิบัติ เราพิจารณาเพื่อเห็นโทษของ ความรักที่มีเงื่อนไข และความงดงามของจิตที่ไม่มี เงื่อนไขแล้ว ศรัทธาในการพัฒนาตัวเอง และกำลังใจ ย่อมตามมา เราเริ่มสำรวจความรักที่มีต่อคนใกล้ชิด ทุกคน เพื่อดูว่าเรามีเงื่อนไขเรื่องอะไรบ้าง และหาวิธี แกไขตัวเอง โดยถือหลักว่า หวังดีต่อเขา แต่ไม่หวัง ดีจากเขา ทำยากแต่ทำแล้วดี เมื่อเราได้ดีจากเขา โดยที่ไม่คาดหวัง มันมีรสชาติวิเศษ

ก่อนหน้านี้ได้เขียนแล้วว่า ความรักเฉพาะ บุคคลมักนำไปสู่ความลำเอียง การเข้าข้างคนที่เรา รักและการแบ่งแยก ด้วยเหตุนี้ความรักของเรา ถึง จะไม่มีเงื่อนไข หรือมีเงื่อนไขน้อย ยังอาจขาดคุณสมบัติของเมตตาในแง่หนึ่ง คือความสม่ำเสมอ ในสรรพสัตว์ เหตุผลหนึ่งที่พระสงฆ์ประพฤติ พรหมจรรย์ก็เพื่อไม่ให้ความรักตัวบุคคลทำให้ กระแสเมตตาในใจท่านอุดตัน

สำหรับฆราวาสถึงจะยากก็ยังทำให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ได้จึงควรจะระมัดระวัง มีสติควบคุมใจ ไม่ให้น้ำหนักแก่ความคิดแบบเราเขา วงในวงนอก ไกลใกล้ ให้มากจนเกินควร จงระลึกถึงความจริงว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหลายล้วนเป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งหมดทั้งสิ้น ปฏิบัติต่อคนอื่นทุกคนด้วย ความเคารพ ความเกรงใจ และความหวังดี นี่คือการชำระความรักอีกประการหนึ่ง

ความรักที่เกิดจากอวิชชาและประกอบด้วย กิเลสมักนำไปสู่ชีวิตหวาน เปรี้ยว มีความทุกข์ และ ความสุขคละกันอยู่ตลอด ส่วนเมตตาเกิดจากการ ปล่อยวางความเป็นห่วงตัวฉัน และการเพียรละกิเลส

เพราะฉะนั้น เมตตาจึงเป็นส่วนหนึ่งของมรรค และ เป็นคุณธรรมประจำจิตของพระอริยะเจ้า ในชีวิต ประจำวันเราจึงควรรับรู้ แล้วละทิ้งความหึงหวง ความอิจฉาพยาบาท และกิเลสอื่นๆ ที่ทำให้ความรัก เป็นภาระหนัก

เราต้องการให้เขาเป็นสุข แต่บางครั้งเราช่วย เขาไม่ได้ เพราะเขามีกรรมที่ต้องใช้ ในกรณีนี้ถ้าไม่ พิจารณา เรื่องกฎแห่งกรรมเราคงเป็นทุกข์ ผู้มี เมตตาจึงต้องมีปัญญาคอยตรวจตรา ไม่ให้ลืมตัว ยิ่ง กว่านั้น ปัญญายังมีบทบาทสำคัญในการคิดกุศโลบาย เพื่อช่วยให้คนอื่นเป็นสุข ความหวังดี อย่างเดียวอาจไม่ประสบความสำเร็จหากขาดความฉลาดในเรื่องนิสัยใจคอของผู้ที่เรารัก เรื่องกาลเทศะ เรื่องการสื่อสาร ฯลฯ อุเบกขา ความเป็นกลางที่เกิด จากปัญญาเป็นที่พักจิตในเวลาที่เราช่วยคนที่เรารัก

ให้มีความสุขไม่ได้

อีกข้อหนึ่ง ปัญญาและอุเบกขา มีหน้าที่กำกับ ไม่ให้ความเมตตาเป็นเหตุให้เราทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ด้วยเจตนาดี เช่น พูดเท็จ เป็นต้น ซึ่งอาจส่งผลร้าย ต่อส่วนรวม ถึงจะทำบาปด้วยเจตนาดี บาปก็ยังเป็น บาปอยู่เหมือนเดิม

ผู้ที่สามารถให้ความรักที่บริสุทธิ์ได้อย่างต่อ เนื่อง คือผู้ที่มีความสุขภายในตน ต้องรู้จักให้ความ รักและให้อภัยตัวเอง ความสุขภายในเกิดจากการแผ่เมตตาให้ตัวเองเป็นแหล่งสำคัญ วิธีการเริ่มต้นด้วยการระลึกถึงคุณธรรมที่ตนปรารถนาที่สุด เช่น ความ สงบ ความไม่โกรธ เป็นต้น ว่ามันดีมันงามขนาดไหน มันน่าประทับใจตรงไหน แล้วค่อยกล่าวอยู่ในใจ ว่า ขอให้ข้าพเจ้าเป็นสุข ขอให้ข้าพเจ้าสงบเยือกเย็น ไม่เครียด ขอให้ข้าพเจ้าไม่หดหู่ ไม่วิตกกังวล มีแต่ความผ่องใสเบิกบาน ฯลฯ ให้ทดลองว่าควรกล่าว อย่างไรจึงได้ผลดีที่สุด

ที่ใช้คำว่า “ขอ” ไม่ได้ขอใครหรอก มันเป็นการยืนยันอยู่กับตัวเองมากกว่า ว่าอะไรคือ เป้าหมายชีวิต นอกจากเป็นการเสริมสร้างความมุ่ง มั่นแล้ว ยังเป็นเครื่องเตือนสติว่า ทุกวันนี้การดำเนิน ชีวิตสอดคล้องกับการเข้าถึงสิ่งดีงามที่ใจปรารถนา หรือไม่ จิตใจก็น้อมไปทางนี้บ่อยๆ เมื่อเราจะทำ อะไร จะพูดอะไร จะคิดอะไร ที่ขัดกับสิ่งเหล่านี้ ความปรารถนาดีต่อตัวเองที่เราซ้อมเป็นประจำจะ สะกิดใจ เมื่อความอิจฉาพยาบาทเริ่มเกิดขึ้น เราก็ รู้สึก เอ๊ะ! นี้มันขัดกับที่เราปรารถนาเมื่อเช้านี้แล้ว ไม่ใช่แล้ว อันนี้เรียกว่า เราตื่นตัวในชีวิตประจำวันได้ เมื่อเราแผ่เมตตาให้ตัวเองด้วยการใช้คำกล่าว ต่างๆ จนสุกงอมได้ที่แล้ว เรากำหนดเฉพาะความรู้สึกของเมตตา เพื่อสร้างฐานของความสงบแน่วแน่ และวิปัสสนาต่อไป เมื่อชำนิชำนาญในการแผ่เมตตา ให้ตัวเองแล้ว ซึ่งอาจจะใช้เวลาหลายวัน หรือเป็น เดือนก็ได้ ไม่ต้องใจร้อน ค่อยแผ่เมตตาให้คนอื่น ในทำนองเดียวกัน หลักสำคัญที่นี่คือการเริ่มจากง่าย เช่น ผู้เป็นเพศเดียวกันที่เราเคารพนับถือ ผ่าน ครอบครัว ญาติมิตร ไปสู่ระดับที่ยากขึ้น คือศัตรูหรือ คนที่เราไม่ชอบ ไม่ต้องรีบ เอากำลังใจเป็นประมาณ ไม่ใช่นาฬิกา หรือปฏิทิน

การแผ่เมตตาอีกวิธีหนึ่งคือบริกรรมคำว่า สุขหนอๆ พร้อมกับลมหายใจ หายใจเช้านึกเหมือน ความสุขแผ่ขยายไปในทุก ๆ ส่วนของกายและใจ หายใจออกนึกเหมือนแผ่ความสุขออกไปสู่สรรพสัตว์ ทั้งหลายทั้งปวง นึกเหมือนกับเราเป็นประทีปที่ส่อง แสงสว่างในทุกทิศทุกทาง

รินิ'พ ๖ ๙

สุดท้าย ขอให้พวกเราทั้งหลายเรียนรู้ เรียนรู้เรื่องความรัก ความรักอย่างไรเศร้าหมอง ความรักอย่างไรผ่องใส ความรักอย่างไรทำให้เราอ่อนแอ ความรักอย่างไรทำให้เราเข้มแข็ง ความรักอย่างไรทำให้มีความสุขชั่วแวบเท่านั้น ความรักอย่างไรทำให้มีความสุขระยะยาว และ ความรักอย่างไรทำให้เราสามารถให้ความสุขแก่คนอื่นได้อย่างไม่มีเงื่อนไข กำหนดแนวทางแล้ว ให้ปฏิบัติไปเรื่อย ๆ ล้มลุกคลุกคลานก่อนก็ไม่เป็นไร การปฏิบัติธรรมให้ชีวิตที่มีแก่นสาร ไม่ง่ายไม่ยากเท่าไร แต่สุดท้ายจะต้องยอมรับว่า คุ้มค่าความยากลำบากอย่างไม่มีที่สงสัย ยากกว่านี้อีกกี่เท่าก็ยังคุ้ม ๏

จบหลักรัก – ชยสาโรภิกขุ

หลักรัก ตอนที่ ๑๑ -ตอนสุดท้าย

ที่มา