หลักรัก ตอนที่ ๙ - พระอาจารย์ชยสาโร


อวิชชาคือความไม่รู้หรือรู้ผิด สิ่งที่ไม่รู้คือ ความจริงของชีวิตนี่เอง ความรู้ผิดคือความถือว่ามี อัตตา ผู้รู้สึกนึกคิด ผู้ทุกข์ผู้สุข ซึ่งถาวรและเป็นตัว ของตัว ทำหน้าที่เป็นเจ้าของและผู้บงการชีวิต ผล ปรากฏของอวิชชาในท่าทีต่อโลกหรือการปฏิบัติต่อ โลกคือตัณหา ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น อยากในการไม่ได้ไม่มี ไม่เป็น

ในประโยคว่า ฉันรักเธอ คำว่า ฉัน หมายถึง อะไร ตัวฉันแท้ๆ อยู่ตรงไหน ตัวฉันวันนี้กับตัวฉัน เมื่อวานนี้คนเดียวกันหรือไม่ ตัวฉัน ๑ ปีที่แล้ว ๕ ปี ที่แล้ว ๑๐ ปีที่แล้ว ๒๐ ปีที่แล้ว คนเดียวกันหรือไม่ คนเดียวกันก็ไม่ใช่ทีเดียวใช่ไหม คนละคนก็ไม่ใช่อีก นี่คือความแปลกประหลาดของสิ่งที่ดูชัดเจนที่สุดใน ชีวิต

พระพุทธองค์ตรัสว่า ตัวฉันที่เที่ยงแท้ถาวร ไม่มี สิ่งที่มีอยู่และเรารู้ได้คือความยึดมั่นถือมั่นใน ร่างกาย และความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ว่าเป็นตัวฉัน ซึ่ง เกิดขึ้นและดับไปตลอดเวลา เทียบเหมือนคนบ้าเชื่อ ว่าเป็นทาส ดิ้นรนทำทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อเจ้าของจะ ได้สบาย ได้รวย ได้เจริญ ทั้งๆ ที่เจ้าของไม่มีตัวจริง ความยึดมั่นถือมั่นในกายและใจ หรือรูปและนามว่า เป็นตัวเรา เราอยากได้สิ่งต่างๆ เพื่ออะไร? ก็เพื่อ ปกป้องและบำรุงตัวฉันนั่นเอง แต่เนื่องจากว่า ตัว ฉัน เป็นชื่อของกระแสธรรมชาติที่ไม่เที่ยง ไม่คงที่ มันทำให้รู้สึกพร่องอยู่เป็นนิจ

เรื่องอนัตตาฟัง ยาก เพราะมันฝืนสามัญสำนึก แต่ผู้ใดต้องการปล่อยวางความทุกข์จำเป็นต้อง

เข้าใจในเรื่องนี้ เพราะความรู้สึกว่าพร่อง ว่าขาด ว่า ไม่สมบูรณ์ ว่าอ้างว้าง เป็นฉากชีวิตปุถุชน และเป็น เหตุให้อยากได้ความรักเหลือเกิน และทำให้ความรักที่ได้เศร้าหมองง่าย เพราะหลงว่ามีตัวเจ้าของชีวิตที่ ขาด หรือกลัว หรือแปลกแยก จึงดิ้นรนเพื่อความรัก โดยรู้สึกว่า ฉันมีปัญหา แท้ที่จริงแล้ว ฉันคือปัญหา อย่างน้อยที่สุด ถ้าเรากลัวดูตัวเอง กลัว พิจารณาความเหงา กล้าพิจารณาความกลัว ความ กังวลต่างๆ กล้าดูสิ่งต่างๆ ที่เป็นทุกข์อยู่ในใจ ความ หิวโหย ความหวังจากคนอื่นก็จะน้อยลงไปเอง จะ เริ่มเห็นว่า สิ่งเหล่านั้นไม่ใช่ของจริงของจังอะไร มัน เป็นแค่อารมณ์ มีเกิดมีดับเป็นธรรมดา ผู้ที่เห็นแก่ ตัวมาก เพราะเชื่อในเจ้าของมาก และเป็นผู้ที่หมั่น บำรุงเลี้ยงสิ่งลมๆ แล้งๆ นี้ ยิ่งเห็นแก่ตัว นึกว่าตัว เองฉลาด ภูมิใจว่าคนอื่นไม่ทันตน ที่จริงอยู่ในสภาพ

โง่แกมหยิ่ง เพราะยิ่งแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว ก็ ยิ่งจะต้องเจอความระแวง ความเหงา ยิ่งต้องเจอ ความกังวล ความเป็นห่วงศักดิ์ศรี และความกลัว ทั้ง ในรูปเปิดเผย และในรูปแห่งความก้าวร้าว

ถ้าเรารู้สึกว่าเราขาดอะไรสักอย่าง แล้วก็หวัง ว่ามีคนใดคนหนึ่งที่สามารถเสริมส่วนที่ขาดไปนั้น เป็นเหตุให้ความสัมพันธ์กับคนอื่นมีเงื่อนไข แล้ว แปรไปในทางที่ต้องการอะไรสักอย่างจากเขา เมื่อ เราต้องการอะไรสักอย่างจากคนอื่น และเชื่อว่าถ้าไม่ได้สิ่งนั้นชีวิตเราจะแย่ ก็ต้องเครียดว่าจะไม่ได้ หรือถ้าได้ ความหึงหวงเพราะกลัวพลัดพรากก็จะต้องรุนแรง ถ้าเราฝากความหวังในความสุข ในความมั่นคงของชีวิตไว้กับคนใดคนหนึ่ง เราก็ต้องทุกข์กับความไม่แน่นอนของคนนั้น และความพลัดพรากที่รอคอยอยู่ข้างหน้า ใครไม่รู้จักตัวเองและไม่ยอมรับความจริงของธรรมชาติคงต้องทุกข์มาก การรักมากเกินไป ต้องการสิ่งที่คนอื่นให้เราไม่ได้คือความทุกข์

การระลึกถึงข้อบกพร่องของความรักคงไม่ ทำให้คนรักจริงเลิกรักกันหรือรักน้อยลง เพียงแต่ ช่วยให้ความรักมีปัญญาคอยกำกับดูแลอยู่บ้าง คือ การสำนึกในความทุกข์ที่เป็นเงาตามตัวของความรัก ทำให้เราวางใจกับธรรมชาติของชีวิตได้ดีขึ้น ไม่คาดหวังให้ความรักอำนวยสิ่งที่มันให้เราไม่ได้ เมื่อเราเห็นความรักว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่เราต้องการและพอใจ แต่เป็นสิ่งที่ไม่สามารถให้ความสุขที่เที่ยงแท้ถาวรแก่เราได้ ความสำคัญของการปฏิบัติธรรมน่าจะชัดเจนขึ้น

การปฏิบัติธรรมคือการฝึกตนให้ฉลาด ฉลาด ในการป้องกันกิเลสที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ฉลาดในการระงับกิเลสที่เกิดขึ้นแล้ว ฉลาดในการทำสิ่งที่ ดีงามที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นได้ ฉลาดในการรักษาสิ่งดี งามที่เกิดขึ้นแล้วและทำให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป การปฏิบัติธรรมจึงไม่จำกัดเวลาหรือสถานที่ มันอยู่ที่นี่ และเดี๋ยวนี้อยู่เสมอ

ความคิดของผู้ที่ยังไม่ปฏิบัติธรรมในลักษณะ นี้มักจะเต็มไปด้วยความสำคัญผิด ความสับสน และ ความขัดแย้งอยู่ในตัว โดยเฉพาะในเรื่องความสุข และความทุกข์ ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในชีวิตมนุษย์ ระบบการศึกษาทั่วไปไม่ค่อยได้ช่วยอะไรมาก การเน้นการเรียนเพื่อสอบ เรียนเพื่อเตรียมการ ประกอบอาชีพต่อไป และละเลยในการสร้างคนที่มี ความรอบรู้ทั้งด้านในด้านนอก เป็นเหตุให้ความงมงายและสับสนในเรื่องชีวิตดีงามระบาด แม้แต่ในหมู่ที่จบการเรียนทางโลกในชั้นสูง ใครเฝ้าสังเกตการเกิดขึ้นและดับไปของอารมณ์ไม่เป็น ย่อมต้องทน ทุกข์ที่ไม่จำเป็นต้องทน ย่อมต้องขาดความสุขบางประการที่ผู้มีบุญพอที่จะเกิดเป็นมนุษย์ควรจะได้

พระพุทธเจ้าต้องการให้เราเห็นชัดว่าทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตไม่เที่ยง ไม่คงที่ มีความเจริญและความเสื่อมเป็นธรรมดา สิ่งดีงามเสื่อมได้ สิ่งเสื่อมกลับงามได้ เมื่อเป็นเช่นนี้นักปราชญ์จึงควรพยายามป้องกัน สิ่งที่จะทำให้ความผูกพันที่งดงามเสื่อม หรือในกรณีที่เสื่อมบ้างแล้วควรรีบระงับเหตุของความเสื่อมนั้น และที่สำคัญควรจะพัฒนาตนให้ความผูกพันแม้แต่ที่งดงามไม่เสื่อม คือไม่หลับหูหลับตาต่อความจริงของธรรมชาติ ยอมรับความไม่เที่ยงแท้แน่นอน และน้อมไปในวิถีแห่งเมตตามากขึ้น

การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงจึงเป็นทาง เผชิญหน้ากับความจริง เห็นความจริงแล้ว ตัณหาก็ ลดลงหรือดับไป ความรักที่มีอวิชชาและตัณหาเป็น เชื้อเพลิงย่อมพลอยดับไป ส่วนความรักที่ตั้งไว้บน ฐานแห่งความรู้ความเข้าใจและความอยากฝ่ายดี ย่อมทนต่อการพิสูจน์

สรุปได้ว่า คนเราจะอยู่ในโลกนี้อย่างผู้มี ปัญญา ต้องเรียนรู้ธรรมชาติของความรัก พิจารณา เห็นโทษของมัน ไม่มองแต่ในแง่ดีไปหมด

  • ควรละตัณหาซึ่งเป็นเหตุของทุกข์และ โทษที่มาพร้อมกับความรักสามัญ
  • ควรตั้งเป้าหมายว่าต้องการเป็นผูใม่มี ทุกข์ไม่สร้างทุกข์ เพราะความรัก
  • ควรชำระความรักให้มีคุณสมบัติของ เมตตาให้มากขึ้น

จบหลักรักตอนที่ ๙

หลักรัก ตอนที่ ๙

ที่มา