หลักรักตอนที่ ๕ - พระอาจารย์ชยสาโร


ความลำบากใจอีกข้อหนึ่งที่อาจจะพ่วงมากับ ความรักคือความอึดอัดกับครอบครัวของคู่ครอง ใน บางราย พ่อแม่หรือพี่น้องของแฟนบางคนไม่ชอบ เรา บางทีเราไม่ชอบเขา นิสัยใจคอไม่ค่อยตรงกัน หลายคนคงยอมรับว่ามีญาติของสามีหรือภรรยาบาง คน ไม่จำเป็นคงไม่คิดอยากคบหาเขาเลย ต้อง อดทนเพี่อความสามัคคีตามหน้าที่ รักใครแล้วจึง ต้องยอมเป็นทุกข์บ้าง นี่คือโทษของความรักอีก ประการหนึ่ง

พอมีแฟนแล้วความสัมพันธ์กับเพื่อนฝูงคงจะ เปลี่ยนไปบ้าง อาจจะไม่สนิทสนมเหมือนเติม ยิ่ง กว่านั้นถ้าเพื่อนคนหนึ่งเกิดมีปัญหากับแฟนเรา อาจ จะเป็นเหตุให้บาดหมางกันได้ สมมุติว่าผู้หญิงคนหนึ่งเกิดสงสัยว่าเพื่อนเก่าคนหนึ่งชอบแฟนเขา แน่นอนแล้วความระแวงต้องกระทบความอบอุ่นที่ เคยมีต่อกัน ถ้าไม่รักแฟน ทุกข์เหล่านี้ไม่เกิด เพราะ รักมันจึงเกิด ความแบ่งแยกและความอคติเป็น บริวารความรักในตัวบุคคลเป็นธรรมดา มันจึงไม่ใช่ ความรักสากลที่เรียกว่าเมตตา และย่อมนำความไม่ สงบมาให้ชีวิตไม่มากก็น้อย

ญาติของอาตมาคนหนึ่ง ตอนเป็นนักเรียน ด้วยกัน เขานับถือมหาตมะ คานธี เป็นฮีโร่ การสู้ ความกดขี่ด้วยอหิงสาหรือสันติวิธีดลบันดาลใจเขา มาก หลังจากอาตมาอยู่เมืองไทยได้ ๖ ปี ก็กลับไป เยี่ยมบ้าน วันหนึ่งขณะพูดคุยกันกับญาติคนนี้ อาตมาถามเขาว่ายังชอบมหาตมะ คานธี ไหม เขา ตอบว่ายังชอบอยู่เหมือนเดิม แต่ทุกวันนี้ชีวิตผม เปลี่ยนไปแล้ว เดี๋ยวนี้เป็นพ่อของเด็กเล็กสองคน และต้องสารภาพว่า ถ้าใครพยายามทำร้ายลูกผม ผมจะฆ่าเขาเลย ญาติอาตมาจึงกลายเป็นคนที่ ปฏิเสธการใช้ความรุนแรงในทุกกรณี เว้นแต่ในเหตุ จำเป็นเท่านั้น

ปัญหาของแนวความคิด อย่างนี้คือทุกคนที่ใช้ความรุนแรงต้องอ้างความจำเป็นอยู่เสมอ หรือเป็นกรณีพิเศษ อหิงสา ที่มีข้อแม้จึงไม่ใช้ อหิงสา วันนั้นอาตมาได้บทเรียนว่า ความรักแม้จะเป็นความรักงดงามระหว่างพ่อกับลูก อาจทำให้ อุดมคติต่างๆ ในชีวิตเสื่อมได้

บางคนโชคดีได้คู่ครองยอดเยี่ยม อยู่ด้วยกัน กี่ปีๆ ความสุขสำราญไม่เคยจางคลาย ยังมีเหมือน เติม ไปไหนไปด้วยกัน ยังคงจู๋จี๋มากกว่าจู้จี้ รักแบบ ฮอลลีวูดมาก ๆ แต่ความสุขเช่นนี้มักจะมีโทษใน ระยะยาวเหมือนกัน คือมันชอบทำให้เราประมาท ขี้เกียจพัฒนาตนในทางธรรม เหมือนนั่งสบายๆ ในเก้าอี้นวมแล้วไม่อยากลุกขึ้นทำงาน ในที่สุดคนเรา รักก้นเท่าไรก็ต้องพลัดพรากจากก้นตามกฎตายตัว ของธรรมชาติอยู่ดี ส่วนผู้ที่เคยพึ่งคู่ครองมากเกินไป จนไม่มีกำลังเป็นที่พึ่งแก่ตนไต้ ย่อมเป็นทุกข์ รักแต่ พอเพียงน่าจะดีกว่า

สรุปแล้วว่าความรักมีอานิสงส์หลายอย่าง เช่น ป้องกันความเหงาความว้าเหว่ ให้ความอบอุ่น แก่ชีวิตได้ แต่มันไม่ใช่สิ่งที่ดีถ่ายเดียว เพราะยังเป็น ส่วนหนึ่งของวัฏฏะสงสาร ยังขาดความสมบูรณ์ใน ตัวมันเอง เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ในใจผู้ขาด ปัญญาไต้ตลอดเวลา และนำความยากลำบากสู่ชีวิต เราอย่างเลี่ยงไม่ได้หรือเลี่ยงยาก

พระพุทธศาสนาไม่ต้องการจับผิดความรัก เฉยๆ แต่ต้องการให้เราเปิดใจยอมรับความจริง เพราะการระลึกถึงความจริงอย่างรู้เท่าทันเป็นทาง ไปสู่การดับทุกข์ อย่างเช่นพิจารณาว่าเรามีความแก่ เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้ เรามีความ เจ็บไข้เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปไม่ได้ เรามีความตายเป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความตายไป ไม่ได้ ความพลัดพรากจากคนและสิ่งที่เรารักทั้งหมด ทั้งสิ้นมีแน่ ฉะนั้น เราจะรักก็รักได้ แต่ควรจะเตือน ตัวเองอยู่เสมอว่า เราอยู่ด้วยกันอย่างชั่วคราว จะ เป็นชั่วคราวสั้นๆ ไม่กี่เตือน ไม่กี่ปีก็ได้ หรือจะเป็น เวลายาวถึง ๑๐ ปี ๒๐ ปี ๕๐ ปีก็ได้ แต่อย่างไร ก็ตาม มันก็ยังเป็นเรื่องชั่วคราวเท่านั้น

กายนี้เป็นของที่ยืมมาจากธรรมชาติ อาจจะ ต้อง สละคืนเมื่อไรก็ได้ ถ้าเราระลึกอยู่ในความไม่ เที่ยง ความไม่แน่นอนของการอยู่ด้วยกัน เรา น่าจะปล่อยวางในจุดที่สร้างความรำคาญซึ่งกัน และกันได้ง่ายขึ้น ให้อภัยกันได้ง่ายขึ้น ไม่ระหองระแหงในเรื่องไม่เป็นเรื่อง เพราะเป็นการ เสียเวลาเปล่าๆของผู้ที่อยู่ด้วยกันอย่างชั่วคราว เทวบุตร เทวธิดา อยู่บนสวรรค์ อยู่ด้วยกัน ล้านๆ ปี ทะเลาะเบาะแว้งเรื่องทิพย์เล็กทิพย์น้อย คงไม่เป็นไร คงมีเวลาเหลือตอนร้อยดอกไม้ พอจะแก้ไขได้ แต่มนุษย์ไม่มีเวลามากถึงขนาดนั้น คนอายุยังน้อยก็ตายทุกวัน ตายเพราะโรค ตายเพราะอุบัติเหตุ ตายเพราะสงคราม การระลึกถึงความเปราะบางของชีวิตและความไม่เที่ยงจึงทำให้ความรักของเราฉลาดขึ้น มีปัญญาคุ้มครอง

นักปฏิบัติธรรมควรระลึกถึงความพลัดพราก และความตายทุกร้น เพื่อเป็นการแกซ้อมจิตใจให้ ยอมรับความจริงที่ไม่พึงปรารถนาและ ไม่ อยาก ยอมรับ ถ้าไม่ประมาท ทำไปนานๆ ไม่ใช่นานๆ จึงทำ พอมีใครเสียชีวิต ถึงจะเป็นคนใกล้ชิด หรือ

คนที่เรารัก ถึงจะตายฉับพลัน ความคิดที่เกิดขึ้นใน ใจแรกสุดที่ทราบคือ สังขารไม่เที่ยงจริงๆ หนอ พระพุทธเจ้าท่านสอนถูกต้องแม่นยำแท้ๆ สำหรับผู้ ปฏิบัติธรรม ความ เศร้าโศกที่เกิดขึ้นจึงปรากฏ ภายในกรอบของสัมมาทิฐิที่ตั้งมั่น

หลักรักตอนที่ ๕

ที่มา